งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาวะหมดสติและการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR )

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาวะหมดสติและการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR )"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาวะหมดสติและการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR )

2 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ ( Unconsciousness ) หมายถึง ภาวะที่บุคคลหมดความ
รู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ เป็นภาวะ ที่ร่างกายไม่สามารถรับรู้หรือ ตอบรับต่อสิ่งแวดล้อมใดๆที่มากระตุ้น

3 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ
ระดับการรู้สติ เป็นการตอบสนองของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก สามารถแบ่งระดับการรู้สติ เป็น 4 ระดับ ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหมดสติคล้ายหลับหรือหลับใน 2. งุนงง อาการจะมีความคิด การอ่านที่สับสน ตอบคำถามช้า หลงลืม 3. ง่วง เป็นการหลับลึกไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้ แต่จะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่แรงๆ 4. การหมดสติอย่างลึก ผู้ป่วยจะไม่มีปฏิกิริยา ตอบโต้ใดๆ 1. ผู้ป่วยหมดสติคล้ายหลับหรือหลับใน อาการจะดูซึมกว่าปกติ สามารถปลุกให้ตื่นได้ด้วยคำถามหรือการสัมผัส 2. งุนงง อาการจะมีความคิด การอ่านที่สับสน ตอบคำถามช้า หลงลืม 3. ง่วง เป็นการหลับลึกไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้ แต่จะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่แรงๆ เช่น แสงสว่างจ้า เสียงดังๆ การหยิกหรือกดแรงๆ รูม่านตาอาจจะขยาย เมื่อเจอแสงไฟ 4. การหมดสติอย่างลึก ผู้ป่วยจะไม่มีปฏิกริยาตอบโต้ใดๆจากการกระตุ้นทั้งสิ้น พูดไม่ได้ ร่างกายไม่เคลื่อนไหว ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงจ้า

4 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ ลักษณะของอาการไม่รู้สติ
อาการหมดสตินั้นถือเป็นภาวะที่ร้ายแรง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มักจะเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1. หมดความรู้สึกบางส่วนหรือมีอาการซึมมึนงง หากปลุกหรือเขย่าตัวอาจจะตื่น แต่จะมีอาการงัวเงียและ หลับใหม่อีก หรืออาจพูดได้บ้าง แต่ฟังไม่ได้ศัพท์ อาการทางร่างกายจะสังเกตได้ว่า หากเปิดเปลือกตาแล้ว ใช้ไฟฉายส่อง รูม่านตาจะเล็กลง 2. หมดความรู้สึกอย่างสมบูรณ์ เป็นลักษณะหมด ความรู้สึกทุกอย่าง เขย่าก็ไม่รู้สึกตัว ม่านตามักจะไม่มี ปฏิกิริยาต่อแสงสว่าง

5 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ ชนิดของการหมดสติ 1. หมดสติแต่ยังหายใจ แบ่งเป็น
1. หมดสติแต่ยังหายใจ แบ่งเป็น พวกที่มีการชักร่วมด้วย เช่น ลมบ้าหมู ภาวะเลือดเป็นพิษ โรคประสาท เช่น ฮีสทีเรีย พวกที่ไม่มีอาการชัก เช่น เป็นลมแดด เมาสุรา ช็อก เส้นเลือดในสมองแตก ยาพิษบางอย่าง พิษเนื่องจากโรคเบาหวาน 2. หมดสติและหยุดหายใจหรือหายใจ ลำบาก เช่น มีการอุดตันของระบบทาง เดินหายใจ

6 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่หมดสติ
เวลาตรวจจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 4 คือ มองดู สัมผัส ฟัง และดมกลิ่น เมื่อทำการตรวจร่างกายเรียบร้อยแล้ว ให้จัดท่าผู้ป่วยอยู่ในท่าฟื้นคืนสติ จะช่วยป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปาก ได้ ทำให้ปลอดภัยจากการสูดสำลัก ปฏิบัติ ตามขั้นตอน ดังนี้

7 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่หมดสติ
1.นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย ทำการเชยคางให้ผู้ป่วยเงยหน้าไปทางด้านหลัง เพื่อดึงขากรรไกรขึ้นเป็นการเปิดทางเดินหายใจของผู้ป่วย เรียกว่า ทำ head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือ

8 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่หมดสติ
2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง

9 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่หมดสติ
3.  ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง

10 ภาวะหมดสติ ภาวะหมดสติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่หมดสติ
4. จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย

11 กรณีหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
กรณีหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

12 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม เพื่อเป็นการป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวรหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support)

13 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
การประเมินการหมดสติ  โดยการเรียกดังๆและเขย่าที่ไหล่เบาๆ (ระมัดระวังหากผู้ป่วยอาจ มีการบาดเจ็บที่กระดูกคอ)  ถ้าพบว่าหมดสติ ฉุกเฉินโทร1669

14 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ตะโกนเรียกให้คนอื่นมาช่วย  ถ้าเรียกแล้วผู้ป่วยไม่ตอบสนอง  โทรแจ้งเบอร์ฉุกเฉิน รถมูลนิธิ หรือรถที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลพร้อมทำ CPR ทันที ถ้าอยู่ในที่สาธารณะ ให้มองหาเครื่อง AED เพื่อนำมาใช้ 1669 ฉุกเฉินโทร1669

15 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
3. รีบประเมินการหายใจของผู้ป่วยทันที  โดยการก้มหน้าลงเข้าใกล้หน้าของผู้ป่วยโดยหน้าของเราหันไปทางหน้าอกของผู้ป่วย เพื่อสังเกตว่าผู้ป่วยมีการหายใจหรือไม่ โดยสังเกตจาก ก) การดูการเคลื่อนขึ้นลงของหน้าอกของผู้ป่วย ข) การสัมผัสลมหายใจของผู้ป่วยโดยใช้หน้าแนบเข้าใกล้จมูกของผู้ป่วย ค) การฟังเสียงลมหายใจของผู้ป่วย 

16 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
4. จัดท่าผู้ป่วยให้เป็นท่านอนราบบนพื้นแข็ง ขาเหยียดตรง โดยระหว่างทำการจัดท่า ให้ประคองและระวังกระดูกคอของผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ฉุกเฉินโทร1669

17 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
5. เริ่มทำ CPR โดยการปั๊มหัวใจ 30 ครั้ง เป่าปาก 2 ครั้ง ทันที ในขณะที่เครื่อง AED ยังมาไม่ถึง วิธีการปั๊มหัวใจและเป่าปาก นั่งคุกเข่าแนบชิดกับไหล่ข้างขวาของผู้ป่วย ใช้ส้นมือข้างหนึ่งวางลงบนกระดูกกลางอก (Sternum) ที่ระดับเดียวกับหัวนม ใช้มืออีกข้างหนึ่งวางซ้อนทับลงไปบนมือข้างแรก โดยใช้นิ้วมือทั้ง 10 นิ้วประสานกันไว้ให้แน่น(ดังภาพที่ 4) กดหน้าอกของผู้ป่วยให้ยุบลง ประมาณ 2 นิ้ว โดยการโน้มตัวและทิ้งน้ำหนักตัวลงบนมือทั้ง 2 ข้าง ในขณะที่แขนเหยียดตึง ไหล่ตั้งฉากกับมือที่กด ปล่อยคลายแรงกดลง โดยโน้มตัวคืนกลับสู่ตำแหน่งลำตัวตั้งตรงโดยที่มือทั้ง 2 ข้างยังวางอยู่บนหน้าอกของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้หน้าอกของผู้ป่วยยกตัวขึ้นกลับคืนดังเดิม ทำซ้ำข้อ 4 และ ข้อ 5 จำนวน 30 ครั้ง ด้วยอัตราความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที โดยเวลาที่ใช้ในจังหวะกดหน้าอก : การปล่อยคลายแรงกด ประมาณ 1 : 1 วิธีการผายปอด (Mouth to mouth)  ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้มือซ้ายบีบจมูกคนผู้ป่วยให้สนิท และนิ้วที่เหลือกดลงบนหน้าผาก มืออีกข้างหนึ่งเชยคางผู้ป่วยขึ้น ก้มหน้าลงเอาปากประกบปากผู้ป่วยให้แนบสนิท (ดังภาพที่ 3) เป่าลมออกจากปากของเราเข้าไปในปากของผู้ป่วยช้าๆ (ใช้เวลาประมาณ 1 วินาที) จนสังเกตเห็นว่าหน้าอกของผู้ป่วยยกตัวสูงขึ้น ถอนปากของเราออกจากปากของผู้ป่วย เพื่อปล่อยให้ลมที่เป่าเข้าไป ไหลกลับออกจากปากของผู้ป่วย ทำการผายปอดผู้ป่วยด้วยวิธีการตามข้อ 2 ถึงข้อ 4 อีก 1 รอบ หรือปั๊มหัวใจอย่างเดียวโดยไม่ต้องเป่าปาก ความเร็วอย่างน้อย ครั้ง/นาที

18 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR

19 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) คือ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตและสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง

20 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) ข้อบ่งชี้การใช้เครื่อง AED 1.   ห้ามใช้เครื่อง AED กับผู้ป่วยที่ มีสติ หรือ มีลมหายใจ หรือ มีการเต้นของชีพจร หรือ มีสัญญานอื่นใดที่แสดงว่ายังมีการไหลเวียนของเลือดอยู่ 2.   ใช้เครื่อง AED กับผู้ป่วยที่คาดว่าการทำงาน ของหัวใจมีความบกพร่องจนเป็นเหตุให้การ ไหลเวียนของเลือดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการ หมดสติ และ  ไม่หายใจ และชีพจรหยุดเต้นหรือไม่มีสัญญาน อื่นใดที่แสดงว่ามีการไหลเวียนของเลือด

21 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED 1. ตั้งสติ พยายามไม่ตื่นเต้นตกใจ 2. เปิดฝาครอบ จับผู้ป่วยตะแคงขึ้น แล้วนำฝาครอบหนุนใต้ไหล่ผู้ป่วย 4. กดปุ่มเปิดเครื่อง 5. เปิดถุงบรรจุ อุปกรณ์ของ electrode 6.ใช้กรรไกรตัดเสื้อผู้ป่วยออก

22 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED 7. ติด electrode ( แผ่นนำไฟฟ้า ) ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยวางแผ่นแรกบนอกข้างขวา แผ่นที่สองใต้ราวนมข้างซ้าย ให้แนบสนิท กับหน้าอกผู้ป่วย ดังภาพ

23 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED 8. เมื่อติดแผ่นนำไฟฟ้าเสร็จ บอกทุกคน ไม่ให้สัมผัสตัวผู้ป่วย ระหว่างที่เครื่องทำการวิเคราะห์การทำงานของหัวใจผู้ป่วย

24 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED 9.     ฟังคำแนะนำจากเครื่อง หากเครื่องแนะนำให้ ทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (start CPR) ปั๊มหัวใจ 30 ครั้ง เป่าปาก 2 ครั้ง ทำซ้ำ จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หากเครื่องแนะนำให้ ทำการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Shock advised) บอกทุกคน ไม่ให้สัมผัสตัวผู้ป่วย กดปุ่มเพื่อปล่อยไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจ รอฟังและทำตามคำแนะนำของเครื่อง จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง

25 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ปล่อย ช็อต ปั๊ม เป่า

26 การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED 10. ถ้าผู้ป่วยเริ่มหายใจได้เอง ให้ จัดท่า ผู้ป่วยให้ทางเดินหายใจของผู้ป่วยโล่งโดยทำการกดหน้าผาก เสยคาง (head tilt –chin lift)

27 ขอบคุณค่ะ

28 กลุ่มที่ 3 หมดสติ และ CPR
จัดทำโดย นางสาว วิลาวรรณ ห่วงศรี รหัสนักศึกษา นางสาว รภัสสรณ์ ทองสุข รหัสนักศึกษา นางสาว กรปรียา ตุ่มทอง รหัสนักศึกษา นางสาว พิศมัย ใจดี รหัสนักศึกษา นางสาว จิราภรณ์ หินชัยภูมิ รหัสนักศึกษา นางสาว สุกัญญา รวบรวม รหัสนักศึกษา นางสาว สุวิภา อ่อนเอิง รหัสนักศึกษา นางสาว นวพร สระดี รหัสนักศึกษา นางสาว ธันวาพร จิตร์บำรุง รหัสนักศึกษา นางสาว ดัชรินทร์ สมดี รหัสนักศึกษา นางสาว สุจิตรา พวงทรัพย์ รหัสนักศึกษา


ดาวน์โหลด ppt ภาวะหมดสติและการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR )

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google