งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด

2 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
หลักในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากไฟฟ้า แม้ว่าอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช๊อต จะพบได้น้อยกว่าอันตรายจากไฟลวก (flame) หรือ บาดเจ็บเนื่องจากของร้อน (scald)  แต่คงไม่ปฏิเสธว่ายังมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ  ความรุนแรงของไฟฟ้าดูด ไฟช๊อตนั้นขึ้นกับจำนวนโวลท์ (voltage)  และ แอมแปร์ (amperage) ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายและความต้านทานของเนื้อเยื่อที่กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไป ชนิดของกระแสไฟฟ้า และ ระยะเวลาของการสัมผัสอยู่กับกระแสไฟฟ้า

3 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
หลักในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากไฟฟ้า อันตรายจากไฟดูดในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดในบ้านซึ่งไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงมากนัก เพราะไฟบ้านในประเทศไทยเป็นไฟฟ้าชนิดแรงต่ำ (low voltage) ที่ 220 โวลท์ เท่านั้น   ในรายที่ถูกไฟดูด ไฟช๊อตและเสียชีวิตนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงชนิด high voltage สูงกว่า 1000 โวลท์ดูด ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเนื่องจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจทำให้คลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงและเกิดหัวใจหยุดทำงาน ในบางครั้งอาจเกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ ที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าได้ เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก  อวัยวะในช่องท้อง ระบบประสาท เป็นต้น

4 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
เราสามารถช่วยผู้ถูกไฟดูดได้อย่างไร (วิธีช่วยที่ถูกต้อง) ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมาได้จากที่เกิดเหตุนั้น ถ้านำส่งถึงโรงพยาบาลได้ทัน และได้รับการรักษาที่เหมาะสมดีพอ อัตราการตายจะลดลง แต่อาจพบความพิการได้มาก ขึ้นกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยไฟฟ้าแรงสูงจะมีผลทำให้เนื้อเยื่อมีการถูกทำลายอย่างรุนแรง และมีเนื้อเยื่อตายค่อนข้างมาก อาจทำให้แขนขาบวมตึงขาดเลือดรุนแรงไปจนต้องเสียอวัยวะส่วนแขนขาที่ถูกไฟช๊อตนั้น ถ้าไหลผ่านหัวใจอาจทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ หรือ ถ้าไหลผ่านช่องท้องอาจทำให้อวัยวะช่องท้องบาดเจ็บได้เช่นกัน

5 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น      1. ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูดให้เร็วที่สุด และ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งพบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย ถ้าพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน หรือ ผู้ป่วยถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ เราต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้าเช่น ไม้  เขี่ยเอา สายไฟออกจากตัวผู้ป่วยก่อน ๆ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ

6 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น           2. ตรวจดูหัวใจว่าหยุดเต้นหรือไม่ เพราะ กระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจอาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อม ๆ กับการผายปอด           3. หลังจากช่วยเหลือผู้ป่วยออกมาได้แล้วให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล และวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง (ควรทำอย่างไร และควรนำส่งแพทย์ภายในระยะเวลาเท่าไร)

7 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนใหญ่ผู้เข้าไปช่วยเหลือมักลืมคิดไปว่าตัวเองอาจเสี่ยงอันตรายได้เช่นกัน เพราะบ่อยครั้งพบว่าลืมตัดวงจรไฟฟ้า ทำให้ตนเองถูกไฟฟ้าดูดไปด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องตัดไฟฟ้าที่ลัดวงจร และ คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองก่อนช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด             หลังจากตัดวงจรไฟฟ้าแล้ว ให้พยายามแยกผู้ได้รับบาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุไปยังที่ปลอดภัยโดยเร็ว และทำการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้องเพราะผู้ป่วยอาจมีบาดเจ็บในอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ถ้าถูกไฟฟ้าช๊อตในขณะที่ทำงานในที่สูง เช่น ต้องปีนขึ้นไปบนเสาไฟฟ้า เมื่อถูกไฟฟ้าดูดหมดสติอาจตกจากที่สูง อาจมีกระดูกคอ กระดูกสันหลัง กระดูกแขนขาหักได้     

8 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น           เมื่อย้ายผู้ป่วยไปยังที่ปลอดภัยแล้วให้ดูว่ายังมีการเต้นชีพจรหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทำการนวดหัวใจและผายปอด และ เรียกรถพยาบาลฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด   ส่วนในกรณีที่ถูกไฟฟ้าบ้านดูด ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับอันตรายรุนแรงมากนักเพราะเป็นไฟฟ้าแรงต่ำ  สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่บ่งบอกถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บจากไฟฟ้าดูด ไฟช๊อต คือ ระยะเวลาที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า   เพราะ ถ้าร่างกายสัมผัสกับกระแสไฟฟ้านาน ก็จะเกิดการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายมากขึ้น

9 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น        ให้รีบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากจุดสัมผัสกับกระแสไฟ ควรห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูดด้วยผ้าแห้ง  ถ้ามีบาดแผลบริเวณนั้น หรือ ไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บของผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกายบริเวณที่ถูกสัมผัสหรือไม่ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

10 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
ข้อห้ามที่สำคัญที่ไม่ควรทำเมื่อถูกไฟฟ้าดูด      1. ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูด จนกว่าจะแน่ใจได้ว่าผู้บาดเจ็บมิได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใด ๆ จากนั้นจึงตัดวงจรไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อนเข้าไปช่วยเหลือ      2. ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูด ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้       3. ถ้าไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ในการเข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีความรู้ในการตัดกระแสวงจรไฟฟ้าหรือวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ให้รีบตามคนมาช่วย

11 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
 ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบ 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับ 1. A-Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง    2. B-Breathing : การช่วยให้หายใจ            3. C-Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง

12 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด

13 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
1. A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากโคนลิ้นและกล่องเสียงมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift"

14 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
1. A : Airway

15 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
1. A : Airway head tilt chin lift

16 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
1. A : Airway ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก หรือในรายที่สงสัย ควรใช้วิธี "jaw thrust maneuver" โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบน ผู้ช่วยเหลืออยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย

17 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
1. A : Airway jaw thrust maneuver

18 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
B : Breathing หมายถึง การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย สามารถทำได้หลายวิธี คือ ด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) เป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ - นิลสัน (back pressure arm lift or Holger - Nielson method) ทำได้ดังนี้

19 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
2. B : Breathing 2.1 กรณีเป่าปาก บีบจมูกของผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดลึก ๆ ซัก 2-3 ครั้ง หายใจ เข้าเต็มที่แล้วประกบปากให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่วย แล้วเป่าลมหายใจเข้าไปในปอดให้เต็มที่ การผายปอดด้วยวิธี Mouth to Mouth

20 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
2. B : Breathing 2.2 กรณีเป่าจมูก ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บในปาก หรือในเด็กเล็ก ต้องปิดปากของผู้ป่วยก่อน และเป่าลมหายใจเข้าทางจมูกแทน การผายปอดด้วยวิธี Mouth to Nose

21 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
2. B : Breathing ขณะที่เป่าให้เหลือบมองยอดอกของ ผู้รับบริการด้วยว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ การ เป่าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่านทางปากหรือ จมูก จะต้องทำอย่างช้าๆ ปล่อยปากหรือผู้ ช่วยเหลือออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก ให้ ผายปอด 2 ครั้ง ๆ ละ วินาที (แต่ละครั้งได้ ออกซิเจน 16 %) อัตราเร็วในการเป่า คือ ครั้ง / นาที ใกล้เคียงกับการหายใจ ปกติ   

22 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
3. C : Circulation หมายถึง การนวดหัวใจภายนอก ทำใน รายที่ประเมินภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยการจับ ชีพที่ carotid artery แล้วไม่พบว่ามีการเต้นของ ชีพจร ก็จะช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดโดย การกดนวดหัวใจภายนอก (cardiac massage) โดยมีหลักการคือ กดให้กระดูกหน้าอก (sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำ ให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอัน ถูกกดไป ด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยง ร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ

23 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
3. C : Circulation วิธีนวดหัวใจ       1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้า พื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว       2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชาย โครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูก หน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือ ให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก

24 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
3. C : Circulation    3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้ง สองและลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัว ของผู้เจ็บป่วยในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึก ประมาณ นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และ อย่ากระแทก       4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการ ขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วย ออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจาก หน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ใน ร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการ ไหลเวียนเลือดในร่างกาย

25 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
3. C : Circulation 5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ ได้ผล 

26 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น 1. เมื่อพบคนนอนอยู่ คล้ายหมดสติ ต้องลอง ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและเขย่า ตัว เขย่าหรือตบที่ไหล่ ถ้าหมดสติจะไม่มีการโต้ตอบ หรือมีเสียงคราง หรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย ตรวจสอบการหมดสติ

27 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น 2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel - look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และ หน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ หายใจ หรือไม่           - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ โดยเอียงหู ของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของ ผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือ ปากหรือไม่           - feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออก จากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อ บริเวณจมูก

28 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น การทำ look listen and feel

29 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น 3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นตอนที่ 1 คือ Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ)       4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง 5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 15 ครั้ง

30 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น       6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีก ทุก 1 นาที       7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน 8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

31 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน

32 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
ลำดับขั้นตอนการกระตุ้นหัวใจ 1. เปิดเครื่อง AED 2. ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการใช้งาน ของเครื่อง AED ถ้า EKG ผู้ป่วยสามารถแก้ไข ด้วยการกระตุ้นหัวใจ (shock) ได้ เครื่องจะ แนะนำให้เข้าสู่ขั้นตอนการกระตุ้นหัวใจด้วย ไฟฟ้า โดยช็อก (shock) 1 ครั้ง 3. หลังจากการกระตุ้นหัวใจให้ทำการ นวดหัวใจต่อไปทันทีโดยให้หยุดการนวดให้ใจ น้อยที่สุด

33 การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google