งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ รศ.วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ รศ.วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ รศ.วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์
โดย รศ.วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์

2 การเขียนหนังสือที่ดี
๑. สื่อความหมายได้ถูกต้อง ตรงประเด็น เข้าใจตรงกัน ๒. สร้างความเข้าใจ สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ๓. ประหยัดเวลา และงบประมาณ ๔. ง่ายต่อการปฏิบัติ ไม่ต้องตีความและตรวจสอบข้อมูล ๕. งานประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย ๖. เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงาน ๗. ช่วยธำรงรักษาภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

3 หลักในการร่างหนังสือ
๑. ศึกษา และจดจำรูปแบบ โครงสร้างของหนังสือราชการชนิดต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ๒. จับประเด็นสำคัญของเรื่องในหนังสือที่จะร่าง ๓. กำหนดความประสงค์ที่ชัดเจน กรณีมีความประสงค์หลายข้อ ให้แยกเป็นข้อ ๆ เพื่อผู้รับจะได้พิจารณาได้อย่างรวดเร็ว ๔. ใช้ถ้อยคำที่เป็นภาษาราชการ ๕. ใช้ถ้อยคำที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ

4 หลักในการร่างหนังสือ
๕. ถ้อยคำปฏิเสธ ให้ใช้ภาษาที่นุ่มนวล รื่นหู ๖. หลีกเลี่ยงถ้อยคำที่เป็นคำซ้ำซ้อน คำฟุ่มเฟือย ๗. ใช้อักขรวิธี ตัวสะกด ตัวการันต์ และวรรคตอนให้ถูกต้อง ๘. ใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ๙. ระมัดระวังในการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ๑๐. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นภาษาต่างประเทศให้มากที่สุด ๑๑. อ่าน และตรวจทานความถูกต้อง

5 การเขียนหนังสือ ๒. ถูกเนื้อหา ๓. ถูกหลักภาษา ๔. ถูกความนิยม ๕. ถูกใจ
๑. ถูกแบบ ๒. ถูกเนื้อหา ๓. ถูกหลักภาษา ๔. ถูกความนิยม ๕. ถูกใจ

6 ๑. การเขียนถูกแบบ ต้องเขียนให้ถูกชนิด ถูกแบบ และถูกโครงสร้างของหนังสือ ได้แก่ ๑. ต้องจัดวางข้อความต่าง ๆ ให้ถูกตามตำแหน่งที่กำหนด ๒. ต้องใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด เช่น วันเดือนปี ไม่มีคำว่า วันที่ เดือน และ พ.ศ. คำขึ้นต้น คำลงท้าย (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย คำลงท้าย ใช้เฉพาะหนังสือภายนอก ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้ ใช้เฉพาะหนังสือภายใน

7 ๑. การเขียนถูกแบบ ๑. ส่วนหัว จะต้องตั้งชื่อเรื่อง และใช้คำขึ้นต้นให้ถูกต้อง ๒. ส่วนเหตุ จะต้องเขียนเริ่มต้น โดยอ้างเหตุที่มีหนังสือไป ใช้คำเริ่มต้นเรื่องใหม่ / เรื่องที่เคยติดต่อกันมาก่อน และการใช้คำสรรพนามให้เหมาะสม ๓. ส่วนประสงค์ จะต้องเขียนให้ตรงกับลักษณะของเรื่อง และความมุ่งหมายที่มีหนังสือไป ๔. ส่วนท้าย จะต้องเขียนคำลงท้ายให้ถูกต้อง

8 ๒. การเขียนถูกเนื้อหา ๑. การเก็บข้อมูล
จะต้องใช้อวัยวะต่าง ๆ ในการเก็บข้อมูล ดังนี้ ตา ดูแล้วอ่านให้รู้ว่าเรื่องนั้น มีความเป็นมาอย่างไร ปาก ถามผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่อง หู ฟังว่าเรื่องนั้นมีความเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องกับใคร หัว คิดวิเคราะห์จับประเด็นเนื้อหาสาระสำคัญของเรื่อง ใจ ตั้งใจศึกษาให้เข้าใจเรื่องราว โดยไม่มีอคติ มือ ค้นคว้า จด บันทึกเรื่องที่เกี่ยวข้อง

9 ๒. การเขียนถูกเนื้อหา ๒. การจับประเด็นสำคัญของเรื่อง
เป็นส่วนสำคัญที่จะนำมาตั้งชื่อ “เรื่อง” และสาเหตุที่ทำให้ต้อง เขียนหนังสือไปถึงผู้รับหนังสือ ประกอบด้วย เหตุที่มีหนังสือไป และจุดประสงค์ที่มีหนังสือไป ซึ่งอาจจะทำโดยการตั้งคำถามว่า “ทำไมจึงต้องมีหนังสือฉบับนี้ไป” คำตอบที่ได้ อาจจะเป็น... “เพื่อขอความอนุเคราะห์” “เพื่อขออนุญาต” “เพื่อขออนุมัติ” “เพื่อแจ้งให้ทราบ”

10 5 W 1 H ๒. การเขียนถูกเนื้อหา ๓. การย่อเรื่อง
เป็นการสรุปความที่เป็นเนื้อหาสาระ ประเด็นสำคัญของเรื่อง ที่เป็น “เหตุ” ให้มีหนังสือไป เพื่อจะได้นำไปเขียนในภาคเหตุ โดยการใช้หลัก ตั้งคำถามว่า ใคร (who) ทำอะไร (what) ทำเพื่ออะไร (why) ทำที่ไหน (where) ทำเมื่อใด (when) ทำอย่างไร (how) 5 W 1 H

11 รัก คน ไม่ ดี ๓. การเขียนถูกหลักภาษา คนไม่รักดี คนดีไม่รัก ไม่รักคนดี
รักคนไม่ดี คนรักไม่ดี ไม่ ดี

12 ๓. การเขียนถูกหลักภาษา ต้องคำนึงถึง รูปประโยค (ประธาน - กริยา - กรรม)
คน - กิน - ข้าว ครู - ตี - นักเรียน ไม่มีกรรม คนเดิน ม้าวิ่ง มีกรรม รถชนสุนัข แมวกัดหนู ประธานร่วม คนอ้วนกินอาหารและกินผลไม้ได้มาก กริยาร่วม พ่อและแม่ไปทำงาน / ฉันอยู่บ้านกับน้อง กรรมร่วม ฉันและเพื่อนตีกอล์ฟ

13 การใช้คำเชื่อม ที่ - ซึ่ง - อัน (สรรพนามเชื่อมประโยค / ประพันธสรรพนาม)
ทำหน้าที่แทนคำนามข้างหน้า หรือเชื่อมคำนามกับประโยคที่ ตามมา ใช้เมื่อต้องกล่าวซ้ำคำนาม หรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น “ฉันกินขนม ที่คุณแม่ซื้อให้” “บ้านของเขาสร้างด้วยไม้สัก ซึ่งมีราคาแพง” “การไหว้เป็นมารยาทไทย อันสืบทอดมาตั้งแต่โบราณ”

14 การใช้คำเชื่อม ที่ - ซึ่ง - อัน ไม่ควรใช้ซ้ำบ่อย
ถ้าไม่ได้กล่าวซ้ำคำนาม หรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า ไม่ควร ใช้ เช่น “ประชาชนออกมาชุมนุมคัดค้านกฎหมาย ซึ่งกำจัดเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็น ซึ่งการชุมนุมนั้นเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งเป็นแนวทางในการชุมนุมแบบสันติ อหิงสา”

15 การใช้คำเชื่อม กับ - แก่ - แด่ – ต่อ
กับ ใช้เชื่อมคำ ความเข้าด้วยกัน (คู่กัน รวมกัน เกี่ยวข้องกัน) “นรกกับสวรรค์” “พี่กับน้อง” แก่ ใช้นำหน้าผู้รับที่มีศักดิ์เสมอ หรือต่ำกว่า (ตามหลัง “ให้”) “คสช. คืนความสุขให้แก่ประชาชน” “ทำทานให้แก่คนยากจน”

16 การใช้คำเชื่อม แด่ ใช้นำหน้าผู้รับที่มีศักดิ์สูงกว่าผู้ให้
“ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์” “ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ต่อ ใช้นำหน้าผู้รับที่อาวุโส หรือมีอำนาจเหนือกว่า “ลูกต้องกตัญญูต่อพ่อแม่” “เขายื่นเรื่องร้องเรียนต่อนายอำเภอ” “เขาฟ้องร้องคดีต่อศาลยุติธรรม”

17 การใช้คำให้ถูกต้อง อาทิ - เช่น - ได้แก่ - คือ
อาทิ ใช้ยกตัวอย่างเฉพาะสิ่งที่สำคัญ หรืออยู่ในลำดับต้น ๆ โดยไม่ต้องใช้เครื่องหมาย ฯลฯ เช่น ใช้ยกตัวอย่างสิ่งที่ใกล้เคียงกัน เพียง ๓ - ๔ ชนิด ตามด้วยเครื่องหมาย ฯลฯ หรือคำว่า “เป็นต้น” ได้แก่ ไม่ใช่การยกตัวอย่าง แต่ยกสิ่งที่จะกล่าวมาทั้งหมด คือ ใช้ในการให้ความหมาย

18 การใช้คำให้ถูกต้อง วโรกาส - โอกาส
วโรกาส ใช้เฉพาะเมื่อ “ขอโอกาส” จากพระมหากษัตริย์ หรือพระราชวงศ์ โดยใช้ราชาศัพท์ว่า “ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส” เมื่อพระมหากษัตริย์ หรือพระราชวงศ์ “ให้โอกาส” ใช้ราชาศัพท์ว่า “พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ” ในกรณีอื่นให้ใช้คำว่า “โอกาส”

19 การใช้คำให้ถูกต้อง จะ – จัก
เป็นกริยานุเคราะห์ สำหรับช่วยกริยาอื่น บอกเวลาภายหน้า จะ เสียงเบา รู้สึกนุ่มนวลกว่าคำว่า “จัก” เช่น “จะไป” “จะมา” “จะขอบคุณยิ่ง” จัก เสียงหนัก มักใช้กับคำสั่ง คำเน้น กำชับ เช่น “เด็กควรขวนขวายศึกษา จักได้มีความฉลาดรอบรู้” ในหนังสือราชการนั้น นิยมใช้คำว่า “จะขอบคุณยิ่ง”

20 การใช้คำให้ถูกต้อง ใคร่ - ไป - มา
ใคร่ แปลว่า ความปรารถนา ความต้องการ ความอยาก มักใช้ในเรื่อง กามคุณ ไม่ควรใช้ในหนังสือราชการ ไป - มา ในหนังสือราชการ มักใช้ ๒ คำนี้สลับกันบ่อย การจะใช้คำใดนั้น ให้คำนึงถึง “ผู้รับหนังสือ” เป็นสำคัญ

21 การใช้คำให้ถูกต้อง นี้ - นั้น ใช้บอกการชี้ระยะ
นี้ บอกชี้ระยะใกล้ หรือกำลังจะเกิดขึ้น เช่น วันนี้ ดังนี้ ต่อไปนี้ นั้น บอกชี้ระยะไกล หรือที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้น ดังกล่าวมาแล้วนั้น โบราณนั้น เมื่อวานนั้น มักใช้ผิดเป็น “ นี้นั้น”

22 การใช้คำให้ถูกต้อง ระหว่าง.....กับ (ใช้กับสิ่งที่มี ๒ ส่วน หรือ ๒ ฝ่าย) ตั้งแต่......ถึง (ใช้กับเวลา และสิ่งที่มีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด) กำหนดการ (ใช้กับงานพิธีทั่วไป และเกี่ยวเนื่องกษัตริย์) หมายกำหนดการ (เกี่ยวกับพระราชพิธีที่มีหมายรับสั่ง) ขอบใจ (ผู้อาวุโสมากใช้กับผู้อาวุโสน้อย) ขอบคุณ (ผู้อาวุโสน้อยใช้กับผู้อาวุโสมาก ผู้อาวุโสเสมอกัน) ขอขอบพระคุณ (ผู้อาวุโสน้อยใช้กับผู้อาวุโสสูงมาก)

23 การเขียนคำให้ถูกต้อง
กฏหมาย คำที่ถูกต้อง กฎหมาย ปรากฎ คำที่ถูกต้อง ปรากฏ รสชาด คำที่ถูกต้อง รสชาติ หลงไหล คำที่ถูกต้อง หลงใหล ทะนุทะนอม คำที่ถูกต้อง ทะนุถนอม มุขตลก คำที่ถูกต้อง มุกตลก เท่ห์ คำที่ถูกต้อง เท่ ลายเซ็นต์ คำที่ถูกต้อง ลายเซ็น สังเกตุ คำที่ถูกต้อง สังเกต นานับประการ คำที่ถูกต้อง นานัปการ

24 การเขียนคำให้ถูกต้อง
ประสพการณ์ คำที่ถูกต้อง ประสบการณ์ อนุญาติ คำที่ถูกต้อง อนุญาต เจตนารมย์ คำที่ถูกต้อง เจตนารมณ์ โลกาภิวัฒน์ คำที่ถูกต้อง โลกาภิวัตน์ อัฒจรรย์ คำที่ถูกต้อง อัฒจันทร์ ศรีษะ คำที่ถูกต้อง ศีรษะ บุคคลากร คำที่ถูกต้อง บุคลากร สัมนา คำที่ถูกต้อง สัมมนา

25 การเขียนคำให้ถูกต้อง
คลีนิค คำที่ถูกต้อง คลินิก สำอางค์ คำที่ถูกต้อง สำอาง โพสรูป คำที่ถูกต้อง โพสต์รูป อินเตอร์เน็ท คำที่ถูกต้อง อินเทอร์เน็ต ดิจิตอล คำที่ถูกต้อง ดิจิทัล อีเมล์ คำที่ถูกต้อง อีเมล เฟสบุ๊ค คำที่ถูกต้อง เฟซบุ๊ก เว็ปไซด์ คำที่ถูกต้อง เว็บไซต์

26 คะ เป็นการขึ้นเสียงสูง ใช้ในประโยคคำถาม ขอร้อง ย้ำ
การเขียนคำให้ถูกต้อง คะ เป็นการขึ้นเสียงสูง ใช้ในประโยคคำถาม ขอร้อง ย้ำ หรือการเรียก เช่น คุณคะ จริงหรือคะ ไปนะคะ ค่ะ เป็นการลงเสียงต่ำ ใช้ในประโยคบอกเล่า คำตอบรับ เช่น จริงค่ะ ได้ค่ะ มาค่ะ จ้ะ เป็นการลงเสียงต่ำ ใช้ในการตอบรับ หรือปฏิเสธ เช่น ใช่จ้ะ มาจ้ะ ไม่ได้จ้ะ ไม่ถูกจ้ะ จ๊ะ เป็นการขึ้นเสียงสูง ใช้ในการถาม หรือการย้ำ เช่น ใช่ไหมจ๊ะ ได้ไหมจ๊ะ อย่าลืมนะจ๊ะ

27 การใช้คำย่อ และคำแทน คำนามทั่วไปที่เป็นชื่อหน่วยงาน ชื่อสถานที่ เช่น
มหาวิทยาลัย กระทรวง กรม สำนักงาน พระตำหนัก น้ำตก เมื่อนำมารวมกับชื่อ ซึ่งเป็นคำนามเฉพาะ เช่น สุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาธิการ การบินพลเรือน ข้าราชการพลเรือน เป็นคำผสม เมื่อกล่าวชื่อเต็มไปแล้ว การกล่าวครั้งต่อไป ใช้คำนามทั่วไปแทนชื่อเต็มได้ โดยไม่ต้องใช้ไปยาลน้อย

28 การใช้คำย่อ และคำแทน หนังสือราชการนั้น โดยปกติการกล่าวในครั้งแรกจะใช้คำเต็ม หากมีอักษรย่อ ควรวงเล็บอักษรย่อไว้ด้วย เมื่อกล่าวครั้งต่อไป จะใช้คำย่อ หรือคำแทน เพื่อให้กระชับขึ้น ๑. ใช้สรรพนาม เช่น ท่าน กระผม ข้าพเจ้า ๒. ใช้คำนาม เช่น มหาวิทยาลัย สำนักงาน กระทรวง ๓. ใช้อักษรย่อ เช่น ครม. พรบ. พรก. ๔. ใช้คำย่อ เช่น วัดพระเชตุพนฯ มหาวิทยาลัยสุโขทัยฯ ๕. ใช้คำแทน เช่น ตามวันเวลาดังกล่าว โครงการดังกล่าว ตามรายชื่อข้างต้น

29 การใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
ใช้สำหรับย่อคำที่ยาวให้สั้นลง หรือละสิ่งที่ยังเหลืออยู่ เช่น กรุงเทพมหานคร - กรุงเทพฯ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม - โปรดเกล้าฯ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ - พระตำหนักภูพิงค์ฯ ผลไม้มีหลายชนิด เช่น กล้วย ฝรั่ง มังคุด ส้ม ฯ

30  การใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ชื่อคน
ชื่อและนามสกุล เป็นคนละส่วนกัน ดังนั้นจะเขียนเฉพาะชื่อแล้วใช้ไปยาลน้อย เพื่อย่อนามสกุลไม่ได้ เช่น นายวิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ - นายวิศิษฐ์ศักดิ์ฯ ใช้ไปยาลน้อยได้ เฉพาะพระนาม ชื่อ หรือนามสกุลยาวๆ เช่น (พระนาม) สมเด็จพระนางเจ้าฯ สมเด็จพระเทพฯ / สมเด็จพระเทพรัตนฯ (นามสกุล) อิศรางกูร ณ อยุธยา - อิศรางกูร ฯ

31 การใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
ถ้าข้อความที่ละไว้นั้น เป็นข้อความที่เขียนติดกับข้อความข้างหน้า ให้เว้นวรรคหลังเครื่องหมายไปยาลน้อย เช่น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”

32 การใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
ถ้าข้อความที่ละไว้นั้น เป็นข้อความที่ต้องเขียนเว้นวรรค หลังข้อความข้างหน้า ให้เว้นวรรคทั้งข้างหน้าและข้างหลังเครื่องหมายไปยาลน้อย เช่น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒนา วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร” “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร”

33 การใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ)
“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”

34 การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-)
ใช้แยกคำที่ไม่สามารถพิมพ์ไว้ในบรรทัดเดียวกันได้ โดยต้องพิจารณา ดังนี้ ๑. ถ้าคำที่จะแยกนั้น เป็นคำเดียวกัน ต้องใช้ยัติภังค์คั่น เช่น ประสบ - การณ์ พัฒนา - การ ดำเนิน - การ สวัสดิ - การ อาชีว - อนามัย

35 การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-)
๒. ถ้าคำที่จะแยกนั้น ถ้าเป็นนามทั่วไป กับนามเฉพาะ เมื่อแยกคำแล้ว ยังมีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่ต้องใช้ยัติภังค์ เช่น มหาวิทยาลัย / สุโขทัยธรรมาธิราช กระทรวง / คมนาคม สำนัก / งบประมาณ สำนักงาน / คณะกรรมการ สกสค. สำนักงาน / เลขาธิการรัฐสภา

36 การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-)
๓. คำสั้น ๆ ไม่ควรแยกคำ ควรพิมพ์บรรทัดใหม่ทั้งคำ เช่น โรงเรียน ตำรวจ จำเริญ ดำเนิน ชะลอ ดำริ ๔. คำสมาสที่ออกเสียงต่อเนื่องกัน ไม่ควรแยกคำ เช่น ชัยภูมิ ราชการ กรณียกิจ พลการ

37 การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-)
๕. คำผสม ที่นำคำ ๒ คำมาผสมกันแล้วเกิดเป็นคำใหม่ เมื่อแยกคำแล้วความหมายเปลี่ยนไป ไม่ควรแยกคำ เช่น แม่ - น้ำ นักการ - ศึกษา แม่ - ทัพ พ่อ - ครัว แม่ – มด โรง - รถ ๖. คำที่ขึ้นต้นด้วย ประ กระ กะ ระ ละ สะ ไม่ควรแยกคำ เช่น ประสบ ประวัติ กระเทือน กระบวน กะทัดรัด กะทิ ระเหย ระวัง ละเอียด ละออง สะอาด สะกด

38 การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-)
๗. ชื่อคน ไม่ควรแยกคำ ถ้ากล่าวชื่อ นามสกุลเต็มไปแล้ว เมื่อกล่าวถึงอีก อาจใช้คำแทนว่า “ตามชื่อข้างต้น” ถ้าจำเป็นสามารถพิมพ์ชื่อ แยกจากนามสกุลได้ เช่น “ นางสาวสายใจ รัตนสกุลวงศ์” หรือพิมพ์เฉพาะชื่อก็ได้ เช่น นางสาวสายใจ

39 การใช้เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)
ใช้เขียนแทนคำที่ซ้ำกัน โดยต้องเป็นคำชนิดเดียวกัน มีรูป เดียวกัน มีเสียงเดียวกัน และมีความหมายเดียวกัน เช่น “ใครๆ ก็ชมว่าเธอสวย” “สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ” “อะไรๆ ก็ไม่ชอบ” “ไปๆ มาๆ” “เร็วๆ “

40 การใช้เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)
ถ้ามีรูปเดียวกัน เสียงเดียวกัน แต่เป็นคำคนละชนิดกัน ใช้ไม้ยมกแทนคำที่ซ้ำกันไม่ได้ เช่น “ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕๐ คน คนละ ๒๐๐ บาท” “ซื้อปากกามา ๑๐ ด้าม ด้ามละ ๑๕ บาท “คุณแม่ไปซื้อที่ ที่เชียงใหม่” “ของ ของใคร” “ผม ผมยาวมาก” “มือมี ๕ นิ้ว นิ้วที่สวมแหวนหมั้น ได้แก่ นิ้วนางข้างซ้าย”

41 การเว้นวรรค กรณีที่ต้องเว้นวรรค ๑. ชื่อกับนามสกุล นายสมชาติ ณรงค์ชัย
นายสมชาติ ณรงค์ชัย ๒. ชื่อกับตำแหน่ง นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ๓. ยศกับชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ๔. หลังไปยาลน้อย ในกรณีที่ละข้อความข้างหน้าไว้

42 การเว้นวรรค ๕. ระหว่างคำนำหน้านามแต่ละชนิดของบุคคล เช่น
ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ๖. หลังคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ๗. ระหว่างชื่อบริษัท ห้าง ร้าน ธนาคาร สหกรณ์ กับคำว่า “จำกัด” เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ จำกัด

43 การเว้นวรรค ๘. ระหว่างคำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด”
“ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” กับชื่อห้าง เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองการพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ประกายเพชร ๙. ระหว่างกลุ่มคำ หรือข้อความ เช่น ผลไม้มีหลายชนิด เช่น ส้ม มะม่วง ลองกอง ฝรั่ง เป็นต้น ๑๐. ระหว่างคำ หรือข้อความ กับอักษรย่อ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่

44 สิ่งที่ไม่เว้นวรรค ๑. คำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง คุณ
๑. คำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง คุณ กับชื่อ เช่น นายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง คุณยุวดี เพชรรุ่งศักดิ์ ๒. บรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนามกับนาม เช่น พระยาอุปกิตศิลปสาร คุณหญิงชดช้อย โสภณพานิช ๓. คำนำหน้าชื่อที่เป็นตำแหน่งทางวิชาการ หรืออาชีพ กับชื่อ ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน นายแพทย์กานต์ ชำนาญกิจ ๔. ชื่อสถาบันการศึกษา บริษัท ห้าง ร้าน สมาคม มูลนิธิ กรม กอง กระทรวง

45 การเว้นวรรคที่ไม่ถูกต้อง
รถยนต์ชนคน จนทำให้ขาหัก รถยนต์ชนคนจน ทำให้ขาหัก ไข่กินแล้ว แข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ไข่กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน เด็กกินกล้วยแขก ร้อนจนตาเหลือก เด็กกินกล้วย แขกร้อนจนตาเหลือก ห้ามข้าราชการสตรีนุ่งกางเกง ในเวลาปฏิบัติราชการ ห้ามข้าราชการสตรีนุ่งกางเกงใน เวลาปฏิบัติราชการ

46 การใช้คำสรรพนามในหนังสือ
เนื่องจาก ผู้ลงนามในหนังสือราชการ เป็นการลงนาม ในฐานะเป็นตัวแทนของส่วนราชการ  ดังนั้นจึงต้องใช้ “ชื่อส่วนราชการ “ เป็น “สรรพนาม” แทนชื่อผู้ลงนาม ไม่นิยมใช้สรรพนามว่า “ข้าพเจ้า” “กระผม” เว้นแต่จะเป็นการลงนามในหนังสือในฐานะส่วนตัว

47 การใช้คำสรรพนามในหนังสือ
กรมสรรพากร พิจารณาแล้ว เห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ขอหารือว่า กระทรวงมหาดไทย พิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า

48 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
ลักษณะสำนวนภาษาของหนังสือราชการที่บกพร่อง ได้แก่ ๑. ใช้คำ หรือข้อความไม่ชัดเจน ทำให้คลุมเคลือ ความได้ หลายอย่าง เช่น “หากมีข้อขัดข้องประการใด โปรดแจ้งให้ทราบด้วย” ควรแก้ไขเป็น “หากมีข้อขัดข้องประการใด โปรดแจ้งให้ทราบภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือนี้ด้วย”

49 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
“ตามที่ท่านได้ค้างชำระเงินกู้นั้น ขอความร่วมมือจากท่าน ให้นำเงินไปชำระ ภายในกำหนดเวลาด้วย” ควรแก้ไขเป็น “ตามที่ท่านได้ค้างชำระเงินกู้นั้น ตามระเบียบของสหกรณ์ เมื่อท่านได้รับใบแจ้งหนี้แล้ว ท่านต้องนำเงินไปชำระที่สหกรณ์ ภายใน 15 วัน ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากท่านนำเงินไปชำระ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย”

50 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
๒. ใช้คำ หรือข้อความไม่สุภาพนุ่มนวล ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า เป็นการขู่บังคับ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน เช่น “ดังนั้น จึงให้ท่านนำเงินไปชำระ ภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นแล้วจะจัดการตามระเบียบต่อไป” ควรแก้ไขเป็น “ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากท่านได้นำเงินไปชำระ ภาย ในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ ต่อไป”

51 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
๓. ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง โดยใช้ภาษาพูด ภาษาปาก หรือใช้ ภาษาผิดระดับ เช่น “ขอเรียนว่า ไม่เคยได้รับข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์ใน การพิจารณาเลย” ควรแก้ไขเป็น “ขอเรียนว่า ไม่ได้รับข้อมูลใดที่เป็นประโยชน์ในการ พิจารณา แต่อย่างใด”

52 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ ใคร ผู้ใด ทำอะไร ทำสิ่งใด ทำอันใด ที่ไหน ที่ใด อย่างไร เช่นใด ประการใด เมื่อไร เมื่อใด ทำไม เหตุใด เพราะอะไร ฯลฯ

53 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ บัดนี้ ต้องการ (มีความ) ประสงค์ ได้ไหม ได้หรือไม่ ช่วย อนุเคราะห์ ไม่ได้ มิได้ เหมือนกัน เช่นเดียวกัน

54 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ เจอ พบ บอก แจ้ง รู้ ทราบ ไม่ดี ไม่สมควร มิชอบ มากมาย จำนวนมาก หลากหลาย เสร็จแล้ว แล้วเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ฯลฯ

55 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ อาทิตย์หน้า สัปดาห์ต่อไป บอกให้รู้ว่า ขอเรียนว่า คะเน คาดว่า เรื่องนี้ กรณีนี้ ขอถาม ขอหารือ ยังไม่ได้ทำเลย ยังมิได้ดำเนินการแต่อย่างใด

56 ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่
๔. การเขียนถูกหลักความนิยม ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่ จึงแจ้งมา จึงเรียนมา จึงส่งมา จึงเสนอมา เพื่อทราบ เพื่อโปรดทราบ ขอให้ส่ง โปรดส่ง / กรุณาส่ง ให้ไปติดต่อ โปรดไปติดต่อ / กรุณาไปติดต่อ ขอได้อนุญาตด้วย โปรดพิจารณาอนุญาตด้วย ฯลฯ

57 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
๔. การใช้คำ หรือประโยคฟุ่มเฟือย เช่น “รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ ท่านจะต้องคอยติด ตามนโยบายของรัฐบาลว่า มีนโยบายสำคัญ และนโยบายรีบ ด่วนอะไรบ้าง นโยบายไหนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของท่าน เองก็จะต้องนำนโยบายนั้นไปกำหนดในแผนปฏิบัติงานให้สอด คล้องกับนโยบายของรัฐบาล” ควรแก้ไขเป็น “รัฐบาลกำหนดนโยบายไว้หลายด้าน ท่านต้องนำนโยบาย ที่สำคัญ และเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของท่าน ไป กำหนดแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องต่อไป”

58 ๔. การเขียนถูกหลักความนิยม
“เรื่องที่ท่านขอให้ดำเนินการนั้น ขอเรียนว่าได้ดำเนินการให้ ตามที่ท่านได้ขอให้ดำเนินการแล้ว ปรากฏว่า......” ควรแก้ไขเป็น “ตามที่ท่านขอให้ดำเนินการเรื่อง นั้น ได้ดำเนินการ แล้ว ปรากฏว่า......”

59 การใช้คำฟุ่มเฟือย เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ประเทศลาว ผู้โดยสารเสียชีวิต ทั้งหมด ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต แม้แต่คนเดียว ตำรวจได้รับแจ้งว่า พบศพผู้หญิงเสียชีวิต ลอยอยู่ในน้ำ ทนายความชื่อดังถูกยิงตายคาเตียงนอน ในห้องนอน แม่หญิงวัยรุ่นคลอดลูกในห้องน้ำ

60 การใช้ภาษาเชิงสร้างสรรค์
ไม่ตั้งใจเรียน จึงสอบตก ถ้าตั้งใจเรียนก็คงสอบได้ โครงการที่เสนอมาใช้ไม่ได้เลย โครงการที่เสนอมาเป็นโครงการที่ดี แต่ยังไม่เหมาะที่ จะดำเนินการในขณะนี้ คุณเข้าใจผิด ความเข้าใจของท่านยังคลาดเคลื่อน

61 การใช้หางเสียง หางคำ ในหนังสือราชการนิยมใส่คำที่เสมือนเป็นหางเสียง
เพื่อให้ข้อความจบลงด้วยดี ฟังรื่นหู ไม่ห้วน เช่น “ต่อไป”  “ด้วย” และเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความรู้สึกที่ดีต่อกัน ด้วยคำว่า “จะขอบคุณยิ่ง” “จะเป็นพระคุณยิ่ง”

62 จงใช้ภาษาให้ถูกต้องและเหมาะสม
ตำรวจออกปราบปรามโจรปล้นทรัพย์ จนถูกจับได้หลายคน ตำรวจตามจับโจรปล้นทรัพย์ได้หลายคน ชีวิตเราลำบากยากจนเสียเหลือเกิน ตีนถีบปากกัดอยู่ตลอดเวลา เราเกิดมายากจน จึงดำรงชีวิตด้วยความยากลำบาก ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้ว่า จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งดีไหม ประชาชนจำนวนมาก ยังลังเลที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

63 จงใช้ภาษาให้ถูกต้องและเหมาะสม
ผู้ชมมีทุกเพศทุกวัย ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก หนุ่มสาว และคนชรา ผู้ชมมีทุกเพศ ทุกวัย เขาถูกเชิญให้ไปรับประทานอาหาร เขาได้รับเชิญไปรับประทานอาหาร นางแบบสาวพราวเสน่ห์อยู่ในชุดสีแดง นางแบบสวมชุดสีแดง ชาวสวนได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนให้ออกนอกฤดู ชาวสวนปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนให้ออกผลนอกฤดู

64 แนวปฏิบัติในการพิมพ์หนังสือราชการ
๑. หนังสือที่พิมพ์มากกว่า ๑ หน้า หน้าต่อไปไม่ต้องมีตราครุฑ ๒. หนังสือที่มีหลายหน้า หน้าแรกไม่ต้องพิมพ์เลขหน้า แต่หน้า ต่อไปให้พิมพ์เลขหน้าไว้กลางกระดาษ โดยใช้เครื่องหมาย ยัติภังค์ (-) คั่น เช่น - ๒ - ๓. หนังสือที่มีหลายหน้า ให้พิมพ์คำต่อเนื่องของข้อความที่ จะพิมพ์ในหน้าต่อไป บริเวณมุมขวาล่างของหน้านั้น ตาม ด้วยจุด ๓ จุด เว้นระยะห่างจากบรรทัดสุดท้าย ๓ บรรทัด

65 แนวปฏิบัติในการพิมพ์หนังสือราชการ
๔. ต้องมีข้อความของหนังสือที่เหลือไปพิมพ์หน้าสุดท้ายอย่าง น้อย ๒ บรรทัด หรือจะต้องได้ใจความก่อนพิมพ์คำลงท้าย ห้ามพิมพ์เฉพาะคำลงท้ายในกระดาษหน้าสุดท้าย ๕. ข้อมูลตัวเลขที่มากกว่าหลักร้อย จะต้องมีตัวหนังสือกำกับ ๖. ระวังเครื่องคอมพิวเตอร์จะตัดคำให้โดยอัตโนมัติ ทำให้คำ หรือความมีความหมายผิดไป ๗. คำว่า อนึ่ง / ทั้งนี้ / ดังนั้น / อย่างไรก็ตาม / ในการนี้ ควรเว้นวรรค ๑ ตัวอักษร ก่อนขึ้นประโยคต่อไป

66 ปัญหาที่พบในการเขียนหนังสือราชการ
๑. แบบฟอร์มหรือโครงสร้างของหนังสือไม่ถูกต้อง ไม่สวยงาม ๒. พิมพ์ผิด ตก เว้นวรรคตอนไม่ถูก ๓. ตั้งค่ากั้นหน้ากระดาษพิมพ์ แต่ไม่กั้น หลัง ๔. เมื่อตั้งกั้นหน้า และกั้นหลังแล้ว เครื่อง คอมพิวเตอร์จะจัด ช่องไฟให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ ช่องไฟของคำ ข้อความห่างกัน ๕. คำที่มีหลายพยางค์ เมื่อพิมพ์สุดบรรทัด แต่ยังไม่หมดคำ มัก จะถูกแยกคำ (ฉีกคำ) โดย อัตโนมัติ ๖. ใช้คำซ้ำกันบ่อยครั้ง (ซึ่ง / ดำเนินการ / สำหรับ / โดย)

67 ปัญหาที่พบในการเขียนหนังสือราชการ
๗. ใช้คำผิด (อาทิเช่น ทำการ ให้กับ นี้ นั้น ระหว่าง...กับ ได้แก่ คือ ถูก กำหนดการ หมายกำหนดการ) ๘. คำลงท้าย ไม่สอดคล้องกับภาคความประสงค์ เช่น เรื่อง พิจารณาอนุญาต ใช้คำลงท้ายว่า เพื่อโปรดทราบ เรื่อง เกี่ยวกับคน ใช้คำลงท้ายว่า เพื่อโปรดอนุมัติ ๙. ใช้คำว่า “ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้” ไม่ถูกต้อง ๙. ใช้คำว่า “ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น” “ความละเอียดแจ้ง อยู่แล้ว นั้น” “ดังความละเอียด แจ้งอยู่แล้ว นั้น” ไม่ถูกต้อง ๑๐. ใส่จุดหลังคำว่า ณ

68 ตัวอย่างหนังสือประเภทต่าง ๆ

69 ตัวอย่างการเขียนหนังสือราชการ
๑. ภาคเหตุ “ด้วยกองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะจัดโครงการฝึกอบรมการเขียนหนังสือราชการให้แก่พนักงาน ใหม่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ระดับปฏิบัติงาน จำนวน ๕๐ คน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการ และการจัดทำรายงานการประชุม ในวันที่ ๑๑ - ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น. ณ โบนันซา รีสอร์ท เขาใหญ่ จ. นครราชสีมา”

70 ๒. ภาคความประสงค์ “กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พิจารณาเห็นว่า รองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็น บุคลากรของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เป็นผู้ที่มีความรู้ และมี ความสามารถในการบรรยายเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการ และการจัดทำรายงานการประชุมได้เป็นอย่างดี กองการเจ้าหน้าที่ จึงขออนุญาตให้รองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ ไปเป็น วิทยากรบรรยาย ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว” ๓. ภาคสรุป “จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ด้วย จะขอบคุณยิ่ง”

71 คำที่จะพิมพ์ในหน้าต่อไป

72 เลขหน้า คำที่จะพิมพ์ในหน้าต่อไป

73

74 หนังสือเชิญ แจ้งวัตถุประสงค์ที่เชิญ ย่อหน้าที่สอง
ย่อหน้าแรก แจ้งวัตถุประสงค์ที่เชิญ ย่อหน้าที่สอง ๑. ให้ความสำคัญของผู้ถูกเชิญ ๒. ให้รายละเอียดว่าผู้รับเชิญจะต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ย่อหน้าสุดท้าย ๑. แสดงความหวังที่จะได้รับการตอบรับเชิญ ๒. แสดงความขอบคุณไว้ล่วงหน้า

75 ที่.........../......... หน่วยงาน / ที่ตั้ง
๑๓ พฤจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง ขอเรียนเชิญเป็นวิทยากร เรียน สิ่งที่ส่งมาด้วย ด้วย (หน่วยงาน) จะได้จัดการฝึกอบรม และได้กำหนดให้มีการบรรยายในหัวข้อวิชา ในวันที่ เวลา น. ณ (หน่วยงาน) ได้พิจารณาเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความรู้และ ประสบการณ์ในเรื่อง และสามารถให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมในหัวข้อดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ในการนี้ (หน่วยงาน) จึงขอเรียนเชิญท่านได้กรุณาไปเป็นวิทยากรบรรยาย เพื่อให้ ความรู้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวด้วย จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความกรุณาจากท่าน และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย ขอแสดงความนับถือ (ลงชื่อ) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

76 หนังสือขอความร่วมมือ
ย่อหน้าแรก แจ้งวัตถุประสงค์หรือความจำเป็นที่จะขอความร่วมมือ ย่อหน้าที่สอง ๑. ต้องเขียนกล่อมใจด้วยคารมตามสมควร ๒. ชี้ความสำคัญของบุคคล/หน่วยงานที่จะขอความร่วมมือ ๓. ระบุประโยชน์ที่จะได้รับจากความร่วมมือ ๔. แจ้งวัตถุประสงค์ที่จะขอความร่วมมือในลักษณะขอร้อง ย่อหน้าสุดท้าย ๑. ขอร้องให้ดำเนินการ ๒. แสดงความขอบคุณล่วงหน้า

77 ที่.......... /............ หน่วยงาน / ที่ตั้ง
วัน เดือน ปี เรื่อง ขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม เรียน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสอบถาม จำนวน ๑ ชุด ด้วย มหาวิทยาลัยรังสิต จะศึกษาวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินงานต่อไป ในการนี้ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้พิจารณาเห็นว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการฯ จึงใคร่ขอความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ตอบแบบสอบถามที่ส่งมาพร้อมนี้ เพื่อคณะกรรมการฯ จะได้นำข้อมูลดังกล่าวไป ใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามต่อไปด้วย และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย ขอแสดงความนับถือ (ลงชื่อ) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

78 หนังสือตอบปฏิเสธ ย่อหน้าแรก อ้างถึงเรื่องที่หน่วยงานนั้นมีหนังสือเชิญหรือขอความร่วมมือ ย่อหน้าที่สอง ๑. แสดงความขอบคุณ ๒. ให้เหตุผลอย่างชัดเจนถึงสาเหตุที่ต้องปฏิเสธ ๓. ภาษาที่ใช้ในการตอบปฏิเสธต้องนุ่มนวล ย่อหน้าสุดท้าย ๑. แสดงน้ำใจ และให้ความหวังที่จะให้ความร่วมมือใน โอกาสหน้า ๒. แสดงความเสียใจ และขออภัยอีกครั้งหนึ่ง

79 ที่........./.............. หน่วยงาน / ที่ตั้ง
วัน เดือน ปี เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ให้บุคลากรไปช่วยสอนนักศึกษา เรียน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ้างถึง หนังสือ ที่ / ลงวันที่ ตามที่ มหาวิทยาลัยรังสิต ขออนุญาตให้ รองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ ไปช่วย สอนนักศึกษา ในภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๖ นั้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างยิ่งที่ให้เกียรติแก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ แต่มหาวิทยาลัยฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ในภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๖ นั้น ได้มอบหมายให้รองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ รับผิดชอบโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา หากรองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ ใช้เวลาระหว่างนั้นไปช่วยสอนนักศึกษา อาจจะทำให้งานดังกล่าวไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ มหาวิทยาลัยฯ รู้สึกเสียใจที่ไม่สามารถให้ความ อนุเคราะห์ตามที่ขอได้ อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยรังสิต ประสงค์จะให้รองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ ไปช่วยสอนนักศึกษาอีกในโอกาสต่อไป และถ้าหากไม่มีข้อขัดข้องด้วยเหตุสำคัญใด ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยฯ ยินดีให้ความอนุเคราะห์ สำหรับครั้งนี้มหาวิทยาลัยฯ รู้สึกเสียใจ และต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (ลงชื่อ) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

80 หนังสือสอบถาม ย่อหน้าแรก แจ้งเหตุผลความเป็นมาในเรื่องที่ต้องการสอบถาม ย่อหน้าที่สอง ๑. แจ้งรายละเอียดที่ต้องการสอบถาม ๒. เขียนคำถามเป็นข้อ ๆ แยกเป็นประเด็น ย่อหน้าสุดท้าย ๑. แสดงความหวังที่จะได้รับคำตอบ ๒. แสดงความขอบคุณที่จะได้รับคำตอบล่วงหน้า

81 ที่........../............. หน่วยงาน / ที่ตั้ง
วัน เดือน ปี เรื่อง ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของเอกชน เรียน ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด ด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยรังสิต จำกัด กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการร่าง ข้อบังคับของสหกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสหกรณ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยรังสิต จำกัด ได้รับทราบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด ได้มีการจัดทำข้อบังคับสหกรณ์ฉบับใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีรูปแบบที่จะ เป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการในเรื่องนี้ ในการนี้ สหกรณ์ ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยรังสิต จำกัด จึงใคร่ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อบังคับในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ๑. คุณสมบัติในการเป็นสมาชิกสามัญ ๒. คุณสมบัติในการเป็นสมาชิกสามัญ ๓. วงเงินกู้ สำหรับสมาชิกประเภทต่าง ๆ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความกรุณาในเรื่องข้อมูล ดังกล่าว และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ (ลงชื่อ) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

82 หนังสือขอบคุณ ย่อหน้าแรก อ้างถึงเรื่องที่ได้รับความอนุเคราะห์ ย่อหน้าที่สอง ๑. กล่าวถึงผลการได้รับความอนุเคราะห์ ๒. กล่าวคำขอบคุณผู้ที่ให้การอนุเคราะห์ ย่อหน้าสุดท้าย แสดงความหวังที่จะได้รับความอนุเคราะห์อีกในโอกาส ต่อไป

83 ที่........../............. หน่วยงาน / ที่ตั้ง
วัน เดือน ปี เรื่อง ขอขอบคุณ เรียน อธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ้างถึง หนังสือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ ศธ ๐๕๒๒.๐๑/๒๖๑๑ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้ขออนุญาตให้รองศาสตราจารย์วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียน หนังสือแก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการ (สกสค.) ตามโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ จำนวน ๔ รุ่น และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้พิจารณาอนุญาต ดังความ ละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น บัดนี้ การจัดโครงการดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ สำนักงาน คณะกรรมการ สกสค. จึงขอขอบคุณมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์เป็นอย่างดียิ่ง สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. หวังว่า คงจะได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา – ธิราชเป็นอย่างดีเช่นนี้อีกในโอกาสต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (ลงชื่อ) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

84 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ รศ.วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google