งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care)
แพทย์หญิงพิมพ์พร พรหมคำตัน โรงพยาบาลนครพิงค์

2 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care)
คำนิยามขององค์การอนามัยโลก ปี 2005 กล่าวว่า หมายถึง การ ดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวที่กำลังเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยที่ คุกคามชีวิตมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทา ความทุกข์ทรมานด้วยการค้นหา ประเมินและการให้การรักษาภาวะ เจ็บปวดของผู้ป่วย รวมไปถึงปัญหาด้านอื่นๆทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการดูแลแบบองค์รวมที่ ต้องอาศัยการทำงานของสหสาขา ให้การดูแลต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะ เสียชีวิตและดูแลประคับประคองผู้สูญเสีย

3 การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of Life Care)
การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต  โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะใกล้เสียชีวิต การรักษาเน้นการควบคุมอาการรบกวน

4 Hospice บริการสุขภาพแบบ palliative care ที่มุ่งที่การ ดูแลผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต (terminal phase) คือ มีการพยากรณ์โรคไม่เกิน 6 เดือน และไม่แสวงหา curative treatment อีกแล้ว

5 Patient-Centred Medicine
ไม่สบาย Disease History Physical Examination Investigation Diagnosis Illness Idea Feeling Function Expectation

6 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
แสดงอาการป่วย การรักษาโรค ช่วงโศกเศร้าหลังการเสียชีวิต การดูแลรักษาประคับประคอง วินิจฉัยโรค ระยะสุดท้าย โรค และ ความเจ็บป่วย เสียชีวิต Bereavement คนไข้ ครอบครัว ผู้ดูแล 6 6

7 หลักการของ Palliative care (4C)
1. Centered at patient and family ให้ ความสำคัญกับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลัก 2. Comprehensive ให้การบริการครอบคลุมความ ต้องการทุกด้านของผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งร่างกาย จิตใต สังคม และจิตวิญญาณ 3. Coordinated การทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพ รวม ไปถึงคนในครอบครัวของผู้ป่วยและชุมชน 4. Continuous มีความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยและ ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

8 LIFESS L = Living will I = Individual belief F = Function
E = Emotion and coping S = Symptoms S = Social and support

9 L = Living will การแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการดูแล รักษา (Goalof care) และวิธีการดูแลรักษาหากมี อาการทรุดลง

10 I = Individual belief ความเชื่อของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ความตาย หรือการเสียชีวิต

11 I = Individual belief (FICA)
F = Faith ความเชื่อหรือสิ่งที่สำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วย ในปัจจุบัน I = Importance and influence ความเชื่อ ดังกล่าวมีความสำคัญต่อตัวผู้ป่วยอย่างไร C = Community ชุนหรือสังคมที่มีความเชื่อเดียวกันกับ ผู้ป่วยมีความหมายต่อผู้ป่วยอย่างไร A = Address or application ผู้ป่วยต้องการให้ ทีมดูแลปฏิบัติติ่เขาอย่างไรให้เหมาะสมตามความเชื่อของเขา

12 F = Function ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือการ ดูแลตนเองของผู้ป่วย อาจมีการนำแบบประเมินต่างๆ มาใช้ เช่น Palliative Performance Scale (PPS)

13 E = Emotion and coping อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวต่อความเจ็บป่วย รวมทั้งวิธีที่ผู้ป่วยและครอบครัวใช้เผชิญกับความรู้สึกดังกล่าว

14 S = Symptoms ความไม่สุขสบายทางร่างกายและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะ ใช้วิธีการซักถามประวัติร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด หรือใช้แบประเมินอาการ

15 S = Social and support ปัญหาสุขภาพทางด้านสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนที่พึ่งพิงของผู้ป่วยและครอบครัวในเวลาที่มีการ เจ็บป่วย

16 โรงพยาบาล บ้าน Primary Care Unit (PCU)

17 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2554
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2554

18 วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย ปี 2554
เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว ได้รับการ ดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในชุมชนและที่บ้าน อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้รับการดูแลเพื่อ บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการปวด ด้วยยา มอร์ฟีนตามความเหมาะสม เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายบริการการดูแลผู้ป่วย แบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง จากหน่วยบริการ ถึงที่บ้านและชุมชน

19 การจัดเครือข่ายบริการ เขต 1
เครือข่าย 1 เครือข่าย 2 เครือข่าย 3 แม่ข่าย รพ. เชียงราย รพ.ลำปาง รพ.มหาราช ลูกข่าย พะเยา เชียงคำ รพ.แพร่ รพ.น่าน รพ.ปัว รพ.นครพิงค์ รพ.ลำพูน รพ. แม่ฮ่องสอน หลานข่าย รพช.ทุกแห่งในจังหวัด เชียงรายพะเยา รพช.ทุกแห่งในจังหวัด ลำปาง แพร่ น่าน รพช.ทุกแห่งในจังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน งบประมาณทั้งหมด 1,125,000 บาท รพช.ทุกจังหวัด >> อาจไม่ใช่ทุกรพ. เลือกเฉพาะรพ.ที่พร้อมก่อน NHO Region 1-

20 การสนับสนุนการชดเชยค่ายา Morphine
1. On-top สำหรับผู้ป่วยนอก ที่มีสิทธิบัตรทอง ที่วินิจฉัยเป็นผู้ป่วย มะเร็งระยะสุดท้าย 2. มีการประเมิน Pain score ก่อนและหลังการให้ยาและมีบันทึกสำหรับ การติดตามและตรวจสอบ 3. บันทึกข้อมูลใน E-claim : Dx = มะเร็ง ตามด้วย Z51.5 (palliative), ชนิดยา Morphine (รหัสยา) , จำนวนยา และจำนวนวันที่จ่ายยา 4. การสนับสนุนค่ายา Morphine ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด และวงเงิน งบประมาณของเขต 981,000 บาท (เดิมจัดสรร 100 บาทต่อ วันที่ได้ยา )

21 นโยบายและแนวทางการปฏิบัติฉบับแก้ไข 2554 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ โรงพยาบาลนครพิงค์

22 นโยบายและแนวทางการปฏิบัติฉบับแก้ไข 2554
โรงพยาบาลนครพิงค์เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายในการดูแลผู้ป่วยแบบ ประคับประคองและผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยมี ลูกข่ายเป็น โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ และโรงพยาบาลลำพูน หลานข่ายคือ โรงพยาบาลชุมชนทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้นจึงจัดตั้งนโยบายที่ เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ครอบคลุมจากโรงพยาบาลจังหวัด สู่โรงพยาบาลเครือข่าย รวมทั้งชุมชนและครอบครอบครัว

23 นโยบายและแนวทางการปฏิบัติฉบับแก้ไข 2554
การดูแลผู้ป่วยเป็นไปตามคู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข กฏหมายและแนวทางการ ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ของสำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (สช.) แพทย์และพยาบาลสามารถใช้แบบประเมิน Palliative Performance Scale (PPS) และ Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ในการติดตามอาการ และวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายสามารถเข้าถึงยามอร์ฟีนได้อย่างเหมาะสม

24 นโยบายและแนวทางการปฏิบัติฉบับแก้ไข 2554
ผู้ป่วยที่วางแผนการดูแลแบบประคับประคองต้องมีการประสาน หน่วยงานเวชกรรมสังคมเพื่อเยี่ยมบ้านทุกราย โดยมีการวางแผนการ รักษาร่วมกันระหว่างทีมผู้รักษาและครอบครัว รวมทั้งได้รับคำแนะนำ ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างถูกต้องเหมาะสม และประสานส่งต่อผู้ป่วย ไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายอย่างเป็นระบบ มีการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการทุก 3-6 เดือน

25 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดีมีโอกาสเสียชีวิตสูง
กลุ่มที่ต้องการการรักษาต่อเนื่อง กลุ่มที่มีความพิการอย่างรุนแรง

26 กลุ่มที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดีมีโอกาสเสียชีวิตสูง
Severe sepsis Advanced cancer and Cancer with a poor prognosis Acute respiratory failure

27 กลุ่มที่ต้องการการรักษาต่อเนื่อง
End stage renal disease Congestive heart failure และ Valvular heart disease NYHA III-IV Severe chronic obstructive pulmonary disease Decompensate cirrhosis Symptomatic HIV infection ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

28 กลุ่มที่มีความพิการอย่างรุนแรง
Stroke

29 ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยนอก ส่งต่อข้อมูล HHC ประเมินความต้องการการดูแลแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย สถานีอนามัย ใกล้บ้านหรือ โรงพยาบาลชุมชน ประเมินผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยใช้ 1. Palliative Performance Scale (PPS) 2. Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)

30 Palliative Performance Scale

31 Palliative Performance Scale
PPS เป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาโดย Victoria Hospice Society ที่รัฐ British Columbia Palliative Care PPS มีการแบ่งระดับ ทั้งหมด 11 ระดับไล่ตั้งแต่ 100% ลงไปถึง 0% PPS สามารถนำไปใช้ประเมินได้ทั้งที่บ้านและ โรงพยาบาล แต่ควรใช้โดยบุคคลากรทางการแพทย์ สาขาใดก็ ได้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ PPS

32 Palliative Performance Scale
ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ (>70%) ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่าง 2 กลุ่มดังกล่าว (40-70%) ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (0-30%)

33 Palliative Performance Scale
ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร ความรู้สึกตัว

34 จุดประสงค์ของการใช้ PPS
เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีม เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆ และติดตาม ผลการรักษา ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และ ครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย

35 Palliative Performance Scale
1.ให้เริ่มประเมินโดยอ่านตารางในแนวขวางไล่จากซ้ายไปขวา โดยยึด คอลัมน์ซ้ายเป็นหลัก หากคอลัมน์ทางขวาได้คะแนนมากกว่าทางซ้าย จะให้คะแนนตามคอลลัมน์ซ้าย 2. ไม่สามารถให้คะแนนระหว่างกลางเช่น 45% ได้ ผู้ประเมินต้องเลือก กว่าจะให้คะแนน 40% หรือ 50% ขึ้นกับว่า คะแนนใดใกล้เคียงกับ ความสามารถผู้ป่วยในเวลาที่ประเมินมากที่สุด 3. สามารถใช้ประเมินได้ในหลายๆที่ทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาล 4. ผู้ประเมินจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์สาขาใดก็ได้ที่มีความรู้ความ เข้าใจเรื่องการใช้ PPS

36

37

38 หมายเหตุ วิธีการช่วยเหลือตัวเองของระดับ 40 -60%
60% ผู้ป่วยเดินไปเข้าห้องน้ำได้ แต่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นบางครั้ง 50% พาผู้ป่วยไปห้องน้ำ แต่ผู้ป่วยสามารถแปรงฟันเองได้ 40% ต้องพาผู้ป่วยไปห้องน้ำและต้องอาบน้ำแปรงฟันให้ผู้ป่วย กรณีผู้ป่วยใส่ NG tube ให้ใช้ความสามารถของผู้ป่วยใน การกินอาหารก่อนใส NG tube ในการให้คะแนน

39 PPS (%) จำนวนวันที่ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่จนกระทั่งเสียชีวิต 10 2-5 20 4-10 30 13-24 40 37-47 50 38-77 60 48-77 70 78-90

40 CA Ovary with peritoneal metastasis and malignant bowel obstruction
นั่งหรือนอนอยู่บนเตียงตลอด งานบ้านที่เคยทำได้ ตอนนี้ทำไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือเกือบทั้งหมด เช่นมีคนพาไปห้องน้ำและช่วยอาบน้ำแปรงฟัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง กินอาหารได้ลดลงมาก แต่ไม่สับสน

41

42 หลังได้รับยาแก้ปวด สามารถลุกมาเดินได้ช้าๆได้ด้วยตัวเอง ทำงานบ้านไม่ไหว แต่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเช่นอาบน้ำ แปรงฟันเองได้ แต่ต้องมีคนช่วยทำอาหารให้ เรื่องเบื่ออาหารดีขึ้น ไม่สับสน

43

44 ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากกระจายไปกระดูก ใช้เวลาส่วนใหญ่ ของแต่ละวันนั่งหรือนอนอยู่บนเตียงเนื่องจากอ่อนเพลีย ต้องการความช่วยเหลือในการเดินแม้จะเป็นระยะสั้นๆ แต่ สามารถล้างหน้าแปรงฟันเองได้ สติสัมปชัญญะดี กินอาหารได้ ตามปกติ

45

46 ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะแพร่กระจาย นอนมากจะนอนอยู่บนเตียง ไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้ กินอาหารได้น้อยลงมาก แค่จิบ น้ำได้เล็กน้อย ต้องการการช่วยเหลือในการดูแลตัวเองทั้งหมด และต้องอาบน้ำให้ สับสนบ้างเป็นบางครั้ง

47

48 ผู้ป่วยลุกนั่งเดินยืนได้เองเพิ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้า นมแพร่กระจายสามารถทำงานบ้านได้หากได้นั่งพักเป็นพักๆ ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือในการอาบน้ำจากผู้ดูแลให้ช่วย หยิบของในห้องน้ำให้แต่ยังอาบน้ำเองได้กินอาหารได้ตามปกติ ไม่มีอาการสับสน

49

50 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 75 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการอ่อนแรงแขนขา ซีกขวานาน
3 ชัวโมงก่อนมาโรงพยาบาล ขณะนั่งทานอาหารอยู่มีอาการอ่อนแรง ซีกขวาขึ้นมาทันที ถามตอบรู้เรื่องแต่พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว หลังมีอาการ เดินเองไม่ได้ต้องพยุงมาโรงพยาบาล CT : large Lt MCA infarction

51

52 วันที่ 3 หลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยซึมลงมาก GCS E3V2M4 แขนขาซีกขวาจากเดิมพอขยับได้ ขณะนี้ ขยับไม่ได้ แพทย์จึงตัดสินใจใสท่อช่วยหายใจ CT : increase brain edema and midline shift

53

54 คนไข้ได้รับยาลดภาวะสมองบวมจนสามารถถอดเครื่องช่วย หายใจได้ ผู้ป่วยตื่นมากขึ้น สามารถทำตามคำสั่งได้ แต่ยังไม่ สามารถขยับแขนขวามซีกขวาได้ พยาบาลต้องอาบน้ำแปรงฟัน ให้ผู้ป่วยทุกวัน ญาติมาช่วยป้อนข้าวให้ผู้ป่วยทุกเช้า ผู้ป่วย สามารถทานข้าวได้แต่ยังทานได้น้อย

55

56 ทีมเวชกรรมสังคมได้ติดตามไปดูอาการที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นมาก สามารถเดินไปมาในบ้านโดยใช้ tripod เวลาเดินไปห้องน้ำต้องให้ลูกหลานช่วยพยุง เนื่องจากกลัวล้ม แต่สามารถนั่งอาบน้ำได้เอง กลับมาที่บ้าน ทานอาหารได้เยอะขึ้นมาก

57

58 Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)

59 Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)

60 Edmonton Symptom Assessment System (ESAS)
เหตุผลที่ควรประเมินอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่ทำการประเมิน ผู้ป่วย เนื่องจากอาการทั้งหมดเป็นอาการที่พบได้บ่อย หากผู้ประเมินไม่ได้ใช้แบบประเมิน ESAS อาจลืมถามใน บางอาการได้ ทำให้ประเมินผู้ป่วยไม่ครบถ้วน และอาจทำให้ เกิดความผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย

61 คำแนะนำที่สำคัญในการใช้ ESAS
ให้ผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินตนเองหรืออาจให้ผู้ดูแลหลักเป็นผู้ประเมินใน กรณีที่ผู้ป่วยประเมินเองไม่ได้และให้ประเมิน ณ เวลาที่ทำการประเมิน เป็นหลักเท่านั้น

62 คำแนะนำที่สำคัญในการใช้ ESAS
หากมีผู้ทำแบบสอบถามแทนผู้ป่วยให้ยกว้นการตอบในข้อที่เป็นควา เห็นของผู้ป่วยโดยตรง ได้แก่ ซึมเศร้า กังวล และความสุขสบายของ กายและใจ ภาวะอื่นๆ เช่น อาการปวด การเบื่ออาหาร อาการคลื่นไส้อาเจียน และ อาการเหนื่อย สามารถให้ผู้อื่นประเมินแทนได้จากการสังเกตภายนอก

63 คำแนะนำที่สำคัญในการใช้ ESAS
นอกจากการให้ผู้ป่วยบอกความรุนแรงของแต่ละอาการจากหมายเลข แล้ว หากเป็นไปได้แนะนำให้ผู้ประเมินถามรายละเอียดของ อาการควบคู่ไปด้วย จะทำให้ได้ข้อมูลของการประเมินที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อใช้ ESAS ในการประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความจำ ควร ถามคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับความรุนแรงของอาการทุกครั้งเพื่อประเมิน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

64 คำแนะนำที่สำคัญในการใช้ ESAS
ประเมินอาการด้วย ESAS เป็นความเห็นส่วนบุคคล (Subjective) จึงมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง ผู้ป่วยอาจให้ คะแนนเท่ากัน แต่ความรุนแรงของอาการอาจไม่เท่ากัน หลังประเมิน ESAS แล้วผู้ประเมินควรทำการบันทึกวันและเวลาที่ ทำการประเมินทุกครั้งเพื่อใช้ในการติดตามการรักษา

65

66 หอผู้ป่วยหนัก (ICU และ SubICU)
- Palliative Performance Scale (PPS) ควรประเมินผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษา ประเมินทุก ครั้งเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ดีขึ้นและลดลง โดย พยาบาลที่อยู่เวรบ่ายเป็นผู้ประเมินและลงบันทึก PPS ทุกวันใน ฟอร์มปรอท นอกจากนี้แล้วก่อนที่ผู้ป่วยย้ายหอผู้ป่วยควรมีการ ประเมินทุกครั้งก่อนย้ายออก

67 หอผู้ป่วยหนัก (ICU และ SubICU)
- Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลประเมิน หากมีผู้ทำแบบสอบถามแทนผู้ป่วยให้ยกว้นการตอบในข้อที่เป็นควา เห็นของผู้ป่วยโดยตรง ได้แก่ ซึมเศร้า กังวล และความสุขสบายของ กายและใจ สำหรับภาวะอื่นๆ เช่น อาการปวด การเบื่ออาหาร อาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการเหนื่อย สามารถให้ผู้อื่นประเมินแทนได้จากการ สังเกตภายนอก โดยประเมินอย่างน้อยทุก 1 สัปดาห์ และก่อนกลับบ้าน

68 หอผู้ป่วยรวม และหอผู้ป่วยพิเศษ
- Palliative Performance Scale (PPS) ควรประเมินผู้ป่วยเฉพาะรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ต่อเนื่องแบบประคับประคอง ประเมินทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยมีอาการ เปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ดีขึ้นและลดลง โดยพยาบาลที่อยู่เวรบ่ายเป็น ผู้ประเมินและลงบันทึก PPS ทุกวันในฟอร์มปรอท นอกจากนี้แล้วก่อนที่ผู้ป่วยย้ายหอผู้ป่วยควรมีการประเมินทุกครั้งก่อน ย้าย และควรมีการประเมินก่อนผู้ป่วยกลับบ้านทุกราย ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจทุกรายควรได้รับการประเมิน และประเมินซ้ำ เมื่อผู้ป่วยถอดท่อช่วยหายใจ

69 หอผู้ป่วยรวม และหอผู้ป่วยพิเศษ
- Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ให้ผู้ป่วย หรือผู้ดูแลประเมิน (ในกรณีที่ผู้ป่วยตอบเองไม่ได้) แต่ละอาการจะ แบ่งเป็นหมายเลข 1-10 โดยเลข 0 หมายถึงไม่มีอาการ และเลข 10 หมายถึงมีอาการมากที่สุด โดยประเมินอย่างน้อยทุก 1 สัปดาห์ และก่อนกลับบ้าน

70 - ผู้ป่วยทุกรายรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องแบบ ประคับประคอง ต้องได้รับการเยี่ยมบ้านทุกราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมัครใจของผู้ป่วยและญาติ พยาบาลเจ้าของไข้สามารถ ส่งเยี่ยมบ้ายได้โดยไม่ต้องรอความเห็นจากแพทย์ สามารถส่ง เยี่ยมบ้านได้ทุกพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยที่อาศัยอยู่เฉพาะ ในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น หากผู้ป่วยเคยปรึกษาเยี่ยมบ้านให้ทางหอผู้ป่วยแจ้งหน่วยงาน เวชกรรมให้ทราบทุกครั้งว่าขณะนี้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลนครพิงค์

71 ผู้ป่วยนอก - ผู้ป่วยทุกรายรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องแบบ ประคับประคอง หากแพทย์มีความเห็นให้เยี่ยมบ้านให้พยาบาล แผนกผู้ป่วยนอกประสานงานกับเวชกรรมสังคม หรือหาก พยาบาลเห็นสมควรว่าควรเยี่ยมบ้านก็สามารถประสานกับเวช กรรมสังคมได้โดยไม่ต่อรอความเห็นจากแพทย์

72 สถานีอนามัย และอาสาสมัครสาธารณะสุขมูลฐาน
- ผู้ป่วยทุกรายรายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องแบบ ประคับประคองหากพยาบาลหน่วยเยี่ยม บ้านพยาบาลประจำสถานี อนามัย และอาสาสมัครสาธารณะสุขมูลฐานเห็นสมควรว่าควรเยี่ยม บ้านก็สามารถประสานกับเวชกรรมสังคมได้

73

74 Facebook : Palliative-รพ.นครพิงค์


ดาวน์โหลด ppt การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google